การประพันธ์และการตีพิมพ์ ของ จุฬาตรีคูณ (นวนิยาย)

คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิเคยเล่าไว้ว่าในปี พ.ศ. 2490 ขณะมีอายุได้ 16 ปี (พ.ศ. 2490) ในหลักสูตรที่เรียนเกี่ยวกับวรรณคดีไทยมีเรื่อง “กามนิต-วาสิฎฐี” มีข้อความตอนหนึ่งที่ทำให้คุณฉัตรชัยสะดุดใจ เพราะพูดถึงวังน้ำวนอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถือกำเนิดจากแม่น้ำคงคาและยมุนาไหลมาบรรจบกัน ความรุนแรงของสายน้ำที่มาบรรจบกันทำให้เกิดเป็นวังน้ำวนและในยามค่ำคืนก็จะมีทางช้างเผือกที่สว่างไสวขาวโพลนทอดยาวลงมาราวกับจะมาบรรจบกัน ณ ที่แห่งนั้น ทางช้างเผือกถูกเรียกขานว่า “คงคาสวรรค์” จึงเท่ากับเป็นการบรรจบกันของแม่น้ำ 3 สาย คือ จากพื้นพิภพ 2 สาย และจากสรวงสวรรค์อีก 1 สาย ตำแหน่งที่แม่น้ำ 3 สายได้มาบรรจบกันนั้นถูกเรียกว่า “จุฬาตรีคูณ” ซึ่งคุณฉัตรชัยคิดว่าเป็นชื่อที่ไพเราะและสถานที่คงจะสวยงามชวนฝัน หากเอาคำนี้มาผูกเป็นนิยายรักที่ออกเศร้าคงดีไม่น้อย

ในปีถัดมา เมื่อมีโอกาสได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของอินเดีย จึงค้นพบว่าแม่น้ำคงคาและยมุนามีจุดบรรจบกันจริงตามที่ว่า ณ เมืองพาราณสี เมืองหลวงของแคว้นกาสี เมื่อเป็นดังนี้ "จุฬาตรีคูณ" ต้องมีอยู่จริงที่เมืองนี้ จึงคิดเอาไว้ว่าจะต้องเป็นเขียนเรื่องที่เป็นจินตนิยาย แบบย้อนยุค และออกแนวเศร้าแบบที่คิดไว้แต่แรก และยังได้แนวคิดมาจากเรื่องของ นาร์ซิสซัส[1] รูปงามผู้ซึ่งเมื่อยามที่มองลงไปบนผืนน้ำแล้วได้เห็นเงาร่างของตัวเอง ก็บังเกิดความหลงใหลในเงาของตน คุณฉัตรชัยจึงจินตนาการว่าหากมีสตรีนางหนึ่ง เกิดมีความคิดกลับกันในทางตรงกันข้ามจะน่าสนใจขนาดไหนกัน เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงเริ่มเขียน 3 เดือนให้หลังจึงแล้วเสร็จ

ใกล้เคียง